แบบบ้านพูลวิลล่า

แบบบ้านพูลวิลล่า

แบบบ้านพูลวิลล่า

แบบบ้านพูลวิลล่า 1

แบบบ้านพูลวิลล่า ความทรงจำและประสบการณ์จากช่วงชีวิตที่เติบโตมาไม่เพียงจะกลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำบทหนังดีๆ ให้ คุณบาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับภาพยนตร์ One for the Road วันสุดท้ายก่อนบายเธอ ที่พูดถึงความพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตก่อนต้องจากโลกนี้ไป หากยังกลายเป็นโจทย์หลักที่นำพาไปสู่การมี บ้านสีขาว ริมทะเล สไตล์ Mid-century Modern ที่หัวหินหลังนี้ ซึ่งเขาตั้งใจตกแต่งด้วยตัวเองทั้งหมด

“มันมาจากความรู้สึกที่อยู่ในใจตั้งแต่เด็กว่าครอบครัวเราโตมาในบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่เล็กมากราวๆ 20 ตารางวาแต่อยู่กันร่วม 6 คน สิ่งที่ติดอยู่ในใจมาตลอดคือพ่อกับแม่อยากมีบ้านหลังใหญ่ๆ ไว้อยู่ด้วยกัน พอมาถึงวันหนึ่งผมเลยคิดอยากสร้างบ้านต่างจังหวัดที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นัก เพราะด้วยงบประมาณที่มีคงยากที่จะสร้างบ้านหลังใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เลยคิดถึงหัวหินซึ่งเป็นเมืองที่เราชอบตั้งแต่วัยรุ่นและมีภาพความทรงจำที่พ่อแม่ขับรถพามาเที่ยวอยู่ด้วย ตอนแรกมองหาที่ดินเปล่าสำหรับสร้างบ้านแต่คิดว่าต้องใช้เวลานานมากๆ แน่ ก็เปลี่ยนมาดูพวกบ้านจัดสรร ซึ่งก็ไม่ค่อยชอบเท่าไร เพราะอยากมีดีไซน์เป็นของตัวเองด้วย จนมาเจอที่นี่เป็นโครงการบ้านที่ยินดีให้ตกแต่งภายในเองได้หมด เท่านั้นแหละ ผมชอบเลย”

หลังจากที่ดูโครงสร้างบ้านซึ่งเป็นบ้านชั้นเดียวสีขาวแม้จะไม่ได้อยู่ติดทะเล แต่มีฉากหลังเป็นภูเขาและอยู่ในความรู้สึกของบ้านชายทะเล คุณบาสกับแฟนสาว คุณขิม-จุฬารัตน์ หาญรุ่งโรจน์ จึงเห็นพ้องต้องกันว่าน่าจะแต่งบ้านแบบปาล์มสปริงที่มีมู้ดของสไตล์ Mid-century Modern ซึ่งเน้นรูปฟอร์มเรขาคณิตอันเรียบง่ายผสมไปกับความอบอุ่นของงานไม้แบบเอิร์ธโทน

“เราหาข้อมูลกันเลยว่าหัวใจการออกแบบบ้านสไตล์ Mid-century Modern คืออะไร ซึ่งการแต่งบ้านแบบคนทำหนังก็คือมองเป็นอาร์ตไดเร็กชั่นแบบเฟรมภาพ และนึกถึงโจทย์แรกก็คืออยากทำบ้านให้พ่อแม่อยู่ มีอะไรบ้างที่เขาชอบก็เอามาผสมผสานกับสิ่งที่เราชอบ อย่างตอนแรกว่าจะเล่นสเต็ปในบ้านและทำโซฟาหลุมแต่พอมาคิดๆ ดูก็ตัดออก เพราะห่วงแม่ที่เข่าไม่ดีคงจะลำบากเลยมาจบที่โซฟาหนังสีน้ำตาลตัวใหญ่นั่งได้หลายคน แล้วยังมีผนังหินกาบที่พ่อชอบพูดถึงเวลาดูในหนังฝรั่ง ส่วนโต๊ะกินข้าวที่เป็นไม้สักทองขนาดยาวนี่เป็นความชอบของผมเอง รวมไปถึงการเปิดฝ้าเพดานเปลือยเพราะมาเห็นช่างกำลังกรุฝ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง แล้วเห็นว่าฝ้าเปลือยแบบลอฟต์มันเท่ดีเลยขอให้เขารื้อฝ้าออกทั้งหมด คือถึงแม้ในระดับสายตาจะเป็น Mid-century Modernแต่พอเงยหน้าไปแล้วมันคือลอฟต์ที่เป็นตัวตนของผมเลย”

คุณขิมช่วยเล่าต่ออีกว่า เราใช้วิธีเลือกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ก่อนแล้วค่อยๆ เติมชิ้นเล็กเข้าไปค่ะ พอมาถึงโต๊ะกินข้าวนี่ พี่บาสชอบไม้แผ่นนี้มาก ไม่ปรับแต่งอะไรเลย ปล่อยให้มีร่องรอยตามเดิมแล้วหาตอไม้มาประกอบส่วนขาเพิ่มเข้าไป ส่วนใหญ่เราชอบซื้อของมือสองซึ่งมันจะคิดนานไม่ได้ พอเจอแล้วชอบก็ต้องซื้อไว้เลย แต่ถ้าเอามาลองจัดวางแล้วไม่ได้จริงๆ ก็จะปล่อยขายต่อไป ซึ่งก็มีเยอะอยู่ค่ะ (หัวเราะ) ตอนนี้มุมโต๊ะกินข้าวกลายเป็นมุมที่ขิมชอบนั่งมากที่สุด ชอบความรู้สึกของการอยู่รวมๆ กันในครอบครัวที่มุมนี้ ซึ่งเป็นทั้งโต๊ะกินข้าว ทำงาน นั่งคุย นั่งเล่น มองเห็นความเคลื่อนไหวรอบตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ตลอด”

เพื่อผสมความเป็นลอฟต์ที่ชอบ ยังมีการเปลี่ยนวัสดุกรอบประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมเดิมให้เป็นกรอบเหล็กและขยายให้กว้างจนสุดขอบผนังเพื่อรับแสงธรรมชาติและเชื่อมต่อมุมมองภายในออกไปสู่เฉลียงซึ่งมีสระว่ายน้ำส่วนตัวได้กว้างเต็มตา

ขณะที่ส่วนของแพนทรี่นั้นเบรกความขาวของพื้นที่ในบ้านไว้ด้วยโทนสีดำทั้งผนังกรุกระเบื้องเล่นลวดลายทรงกลมกับเคาน์เตอร์ไอส์แลนด์สีดำท็อปด้วยหินเทียมสีดำอย่างกลมกลืน “เราไม่ค่อยเน้นทำอาหารหนัก ก็เลยแต่งครัวให้มินิมัลในโทนสีดำและโชว์ฟอร์มกระเบื้องไปเลย” ที่พักชะอำราคาหลักร้อย

ของแต่งบ้านที่ขาดไม่ได้เลยก็คือโปสเตอร์หนังที่คุณบาสชอบและเริ่มสะสมมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แม้ส่วนนั้นจะเสียหายไปตอนน้ำท่วมบ้านหมดแล้ว แต่กลับมาเริ่มเก็บสะสมใหม่หลังจากได้ไปเจอโปสเตอร์หนังแนววินเทจสวยๆ ที่ฝรั่งเศส แล้วซื้อกลับมาใส่กรอบแต่งผนังที่บ้าน ซึ่งตอนนั้นไม่ค่อยมีที่ให้แขวนสักเท่าไร ขณะที่บ้านนี้มีผนังว่างกว้างๆ ส่วนทางเดินให้แขวนโปสเตอร์เป็นเหมือนแกลเลอรี่หลัก และยังกระจายไปตามผนังส่วนอื่นๆ ของห้องนอน

“เดิมทีบ้านนี้วางผังไว้ให้เป็น 4 ห้องนอน ตอนแรกเราคิดว่ามันเยอะไป คือมีห้องพ่อแม่ที่แต่งสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลเปิดผนังเป็นกระจกโปร่งเพื่อให้มองเห็นวิวสวนเขียวๆ ข้างนอกได้ตามแบบที่เขาชอบ ห้องสีขาวสไตล์มินิมัลนอร์ดิกสำหรับน้องสาวสองคน และห้องนอนหลักของผมกับขิมที่มีความเป็นลอฟต์ๆ หน่อย แล้วปรับอีกห้องให้เป็นห้องทำงานซึ่งตอนแรกมีความเป็น Mid-century Modernชัดมากทั้งโซฟา โต๊ะทำงาน ชั้นหนังสือ และของตกแต่ง แต่พอมีญาติมานอนด้วยเยอะๆ ทำให้เราต้องขายโซฟาทิ้งแล้วเติมเตียงนอนเข้าไปในห้องนี้แทน”

ด้วยเหตุผลที่ทั้งคู่ย้ำมาตลอดว่าทำบ้านเพื่อครอบครัว การปรับฟังก์ชันให้เหมาะกับการใช้งานแบบนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และนำมาสู่ช่วงเวลาที่คุณขิมเล่าให้ฟังว่า พี่บาสเคยขนทีมงานมาตัดต่อหนังกันในห้องนี้ค่ะ ขณะที่ขิมกับหลานกำลังเล่นน้ำกันสนุกอยู่ข้างนอก มองเห็นทีมงานทำงานเครียดๆ กันอยู่ข้างใน ก็ได้ความรู้สึกที่แปลกดี ต่างกิจกรรมต่างอารมณ์ แต่เรามองเห็นกันและอยู่ในบ้านเดียวกัน”

หากบ้านหลังนี้จะกลายเป็นหนังเรื่องที่ 4 ที่คุณบาสกำกับและเขียนบทขึ้นมาเอง เขาบอกได้ทันทีเลยว่านี่คือหนังครอบครัวที่อาจมีตีกันบ้างทะเลาะกันบ้าง แต่ที่มากกว่าคือรอยยิ้มและความสุข

“ภาพที่ผมเห็นคือบ้านที่สามารถรวมทุกคนในครอบครัวให้กลับมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันได้อีกครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากที่เราเคยอยู่ด้วยกันในทาวน์เฮ้าส์หลังเล็กและแยกย้ายออกไปมีครอบครัวของตัวเอง จนคิดว่าจะไม่ได้เห็นภาพแบบนี้อีกแล้ว ตอนทำบ้านหลังนี้เราก็เก็บเป็นความลับไม่ได้บอกพ่อแม่เลย รอจนทุกอย่างเรียบร้อยและพาเขามาเซอร์ไพร้ส แต่หลอกว่าจะจองที่พักไว้ พอเขามารู้ว่าเป็นบ้านของเรานี่ประทับใจมาก ซึ่งสิ่งนั้นก็เติมเต็มความรู้สึกในใจเราได้ดีมากๆ ด้วยเช่นกัน”

แบบบ้านพูลวิลล่า 2

บ้านสีขาวริมทะเล ที่นุ่มนวลแบบมินิมัลและอบอุ่นแบบสแกนดิเนเวีย

  • เจ้าของ : คุณณัฐนนท์ – คุณวรรณิกา ศรีศรานนท์
  • ออกแบบ : Studio NSD โดยคุณณัฐพล แสงทองฉาย
  • ภูมิทัศน์ : Murraya Garden โดยคุณฐาปนิต โชติกเสถียร

บ้านสีขาวริมทะเลที่ชะอำหลังนี้ปรับผังบ้านจากโครงการจัดสรรไปเป็นสไตล์มินิมัลที่โล่งสบายตาผสมผสานกับความอบอุ่นของไม้ในกลิ่นอายสแกนดิเนเวีย โดยตัวบ้านฝั่งที่หันหน้าเปิดโล่งออกสู่ทะเลออกแบบทำระเบียงขนาดยาวซึ่งมีสระว่ายน้ำส่วนตัวเชื่อมต่อกับสวนเมดิเตอร์เรเนียนผสมกลิ่นอายสเปนที่เน้นไม้ฟอร์มสวย โปร่งตา และทนลมทนไอเค็มจากทะเลได้ดี ได้บรรยากาศผ่อนคลายเป็นที่สุด

บ้านชั้นเดียวริมทุ่งนา ที่เย็นสบายทุกฤดูกาล

  • เจ้าของ : คุณกัญจน์-คุณภัทริยา ประทีปจินดา
  • ออกแบบและก่อสร้าง :  Jin Design Co.Ltd. 

แบบบ้านชั้นเดียวริมทุ่งนาที่ออกแบบในลักษณะของเรือนชั้นเดียวหลังเล็ก ๆ เชื่อมต่อกัน ใต้ถุนสูงคล้ายเรือนไทยสมัยโบราณเพื่อป้องกันน้ำท่วมและให้มีลมพัดผ่าน อีกทั้งกำหนดทิศทางบ้านให้หันหน้าสู่ทิศเหนือเพื่อเปิดช่องลม รวมถึงทำหลังบ้านให้เป็นสระว่ายน้ำเปิดรับวิวและรับลมเย็นๆ จากทางทิศใต้ และก่อผนังทึบในห้องที่ตรงกับทิศตะวันตกตามหลักภูมิศาสตร์ของเมืองไทย 

บ้านเหล็กในป่าใหญ่

  • เจ้าของ – ออกแบบ : คุณประภากร วทานยกุล

บ้านเหล็กสวยเท่ในแถบเขาใหญ่ที่เน้นการก่อสร้างได้รวดเร็ว และออกแบบให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ด้วยความเข้าใจและอ่อนน้อม ภายในออกแบบเป็นโถงโล่งด้วยเพดานสูง 5 เมตร วางพื้นที่ใช้งานในลักษณะ Open Plan ต่อเนื่องกันหมด ตั้งแต่ส่วนนั่งเล่นด้านใน ส่วนเตรียมอาหาร ส่วนรับประทานอาหาร ไปจนถึงส่วนอเนกประสงค์ ซึ่งติดกับสระว่ายน้ำด้านนอก มีเพียงห้องนอนและห้องน้ำเท่านั้นที่กั้นผนังเป็นสัดส่วนชัดเจน

บ้านโมเดิร์นทรงกล่องกลิ่นอายเอเชีย

  • เจ้าของ : คุณศุภชาติ- คุณนีรภา บุตรดีขันธ์
  • สถาปนิก : Pijic Architect โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน

บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ตกแต่งด้วยสไตล์โมเดิร์นร่วมสมัย  เน้นความอบอุ่นขององค์ประกอบไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้กับโทนสีขาวสว่างตาภายใต้กลิ่นอายแบบเอเชีย วางผังบ้านโดยเน้นมุมเปิดที่เชื่อมแต่ละมุมของบ้านให้ต่อเนื่องกันและเปิดออกสู่สระว่ายน้ำนอกบ้าน พร้อมมุมน่ารักพิเศษด้วยห้องฟังเพลงและจิบชาแบบญี่ปุ่น

แบบบ้านพูลวิลล่า 3

“บ้านอากาศเย็น” บ้านเลขที่ 1 ณ เย็นอากาศ

  • เจ้าของ : คุณอรรณพ ชั้นไพบูลย์ และคุณสุชีรา นิมิตราภรณ์
  • ออกแบบ : Studio Krubka Co.,Ltd. 
  • จัดสวน : สวนโจ๋น
  • ก่อสร้าง : บริษัทเอ็ม.เค.เอส.เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

บ้านอากาศเย็นเป็นชื่อบ้านที่เจ้าของตั้งขึ้นล้อกับชื่อถนนเย็นอากาศ แต่เมื่อเข้ามาในบ้านก็รู้สึกเย็นสมชื่อ เพราะแม้จะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยสุดเท่ แต่ออกแบบให้มีคอร์ตในบ้านหลายจุด หนึ่งในนั้นเป็นสระว่ายน้ำ พร้อมบ่อแช่น้ำระบบนวดตัวที่เปิดรับแสงธรรมชาติ และสร้างมิติให้สเปซของบ้านสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างงดงาม 

V60 House บ้านโมเดิร์นของนักบินที่เปลี่ยนจากการมองปุยเมฆมาชมสวน

  • เจ้าของ : คุณกฤษณ์ สินธวานนท์ – คุณภัทร์วลัย ชาญเชี่ยว
  • ออกแบบสถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน – ภูมิสถาปัตยกรรม :  WARchitect  โดยคุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ  คุณพศวัต อปริมาณ

แบบบ้านโมเดิร์น สีเทาดำ ที่ออกแบบให้มีพื้นที่เปิดซึ่งสามารถสัมผัสธรรมชาติได้มากที่สุด มีต้นไม้แทรกแผ่ร่มเงาทั่วบริเวณ แม้จะอยู่กลางเมืองแต่ก็เงียบสงบ โดยสร้างให้อยู่ติดกับบ้านคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้สามารถดูแลทั้งสองท่านได้แม้จะแยกบ้านออกมา พร้อมทำสระว่ายน้ำและส่วนออกกำลังกายแยกจากตัวบ้าน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และเครือญาติสามารถมาใช้ร่วมกันได้โดยไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวภายในบ้า