บ้านอิฐโชว์แนว

บ้านอิฐโชว์แนว

บ้านอิฐโชว์แนว ผนังก่ออิฐโชว์แนวหรือเรียกกันว่าผนังอิฐเปลือยนั้นจะเป็นการก่ออิฐในลักษณะเรียงกัน โดยไม่มีการฉาบปูนทับหน้าเพื่อโชว์แนวอิฐ โดยอาจเลือกใช้อิฐที่มีลักษณะ และสีตามความต้องการ เช่น อิฐมอญสีส้ม อิฐขาว หรือจะใช้อิฐมอญเฉดสีต่าง ๆ มาผสมสลับกันก็ได้

ผนังอิฐโชว์แนว หรือ ผนังเปลือย เป็นผนังที่ต้องระวังเรื่องความชื้น เนื่องจาก ไม่มีการฉาบปูนและทาสีทับ ดังนั้นความชื้นไม่ว่าจะมาจากภายนอก หรือ จากใต้ดิน จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างง่ายดาย ทำให้ภายในบ้านเกิดความชื้น และอาจตามมาด้วยปัญหาเชื้อราและปลวกขึ้นบ้านได้ ในการก่อสร้างจะต้องเลือกใช้ปูนที่เหมาะสมและมีการป้องกันเรื่องความชื้น ซึ่งอาจจะเป็นการใช้สารเคลือบที่มีสีใส ไม่รบกวนการชมดูผิวแท้ของวัสดุ ซึ่งเป็นความต้องการของเจ้าของบ้าน

บ้านอิฐโชว์แนว

ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เหมาะจะทำเพียงด้านเดียว ไม่ควรทำทั้งสองด้าน เนื่องจากมันไม่สามารถป้องกัน ความชื้นและอุณหภูมิได้เหมือนผนังที่ฉาบปูน และทาสีทับ และด้านที่ควรทำเป็นผนังเปลือย หรือ อิฐโชว์แนว ควรเป็นด้านภายใน บ้านที่ดูแลได้ง่ายกว่าด้านนอกควรฉาบปูนทาสี หรือ อย่างน้อยก็ควรเป็นผนังปูนเปลือยขัดมัน และลงเคลือบ

เพื่อป้องกันความชื้นไม่ ให้เข้าสู่ตัวบ้าน แต่หากเจ้าของบ้านต้องการ ผนังโชว์แนวด้านนอกด้วย อันนี้ต้องเพิ่มสารป้องกันชนิดพิเศษ และต้องทำหลังคาที่ยื่นยาวออกไปให้มากที่สุด เพื่อทำร่มเงาให้กับผนัง

ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย เรื่องนี้สำคัญมากๆ ! และ ผู้รับเหมา จะต้องทำความเข้าใจ กับเจ้าของบ้านให้ดี เพราะหากว่าไปทำผนัง ไว้ใกล้กับบริเวณที่มีแรงสะเทือนบ่อยๆ อย่างเช่น อยู่ใกล้ด้านที่เป็นถนน ผนังอาจเกิดรอยแตกร้าวได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับแรงสะเทือน จากรถที่วิ่งไปมาเป็นประจำ ซึ่งหากว่าเกิดรอยแตกร้าวขึ้นแล้ว แก้ไขให้คืนสภาพไม่ง่าย ! หากอยากให้สวยเหมือนเดิมอาจจะต้องถึง ขนาดทุบทิ้งแล้วก่อใหม่กันเลยทีเดียว

แบบที่ 1 บ้านสามชั้นอิฐโชว์แนว สัมผัสอบอุ่นที่ฝังในรูปลักษณ์โมเดิร์น

บ้านอิฐโชว์แนว

อิฐ ไม่ใช่วัสดุที่บ้านเราคุ้นเคยเท่านั้น ในประเทศอื่นๆ ก็นิยมใช้เช่นกัน แม้จะเคยรู้สึกว่าบ้านอิฐเชยไปแแล้วในยุคหนึ่ง แต่โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง เทรนด์บางปีก็ยังหยิบจับวัสดุเก่าๆ ที่เรียบง่ายชนิดนี้กลับมาใช้สร้างบ้านในรูปแบบการตีความใหม่อยู่เสมอ บ้านหลังนี้ในประเทศบราซิลก็เช่นเดียวกัน เดอะ แบล็งเก็ต โฮเทล ภูเก็ตทาวน์

สถาปนิกกลับมาทบทวนวัฒนธรรม ในการสร้างสถาปัตยกรรมอิฐเปลือยโชว์ ที่เคยเป็นที่นิยมใน ละตินอเมริกามาเป็นเวลานาน แล้วนำมาปรับรูปลักษณ์ที่มี เส้นสายเรียบคมทันสมัยขึ้น โดยไม่ลืมสร้างความสอดคล้อง กับการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัด และจุดเด่นของพื้นที่ เพื่อให้เข้าถึงและใช้งานได้ง่ายแบบไร้กาลเวลา

LC House เป็นบ้านสองชั้นพื้นที่ 250 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบบนถนนที่เงียบสงบทางตอนใต้ของ Porto Alegre บราซิล การออกแบบที่แปลกตาด้วยรูปทรงกล่องวางเรียงต่อกัน สลับกับพื้นที่ว่างและผนังกระจก มีที่มาจากความต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัวของบ้าน สถาปนิกจึงรักษาระยะห่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ด้วยการทำทางเดิน ลานโล่ง และสนามหญ้าด้านหน้า ขยับตัวอาคารลึกเข้าไปข้างใน นอกจากนี้ที่ดินด้านหนึ่งติดกับเพื่อนบ้าน จึงเหลือเพียงด้านหน้า อาคารที่มีโอกาสเปิดได้ ข้อจำกัดเหล่านี้กระตุ้นให้ทีมงาน แสวงหากลยุทธ์ในการปรับแสง และการระบายอากาศของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

สถาปนิกแก้โจทย์ด้วยการสร้างแปลนอาคาร และปริมาตรที่โดดเด่น เป็นอาคารสามก้อนที่วางทิศทางต่าง ๆ กัน แต่ละก้อนจะมีช่องเปิดหลายช่องที่ หันหน้าเข้าหาสวนด้านหน้า ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านซ้าย และขวา ผ่านประตูกระจกขนาดใหญ่ ทำให้บ้าน LC มีความเชื่อมต่อระหว่างภายใน ภายนอกที่ราบรื่น ในขณะที่บริเวณที่ต้องการความ เป็นส่วนตัวยังรับได้ทั้งแสง ลม วิว แต่หันออกจากสายตาของเพื่อนบ้าน และผู้คนที่ผ่านไปมา

บ้านอิฐโชว์แนว

ระบบโครงสร้างบ้าน LC เป็นอิฐมอญโชว์ให้เห็นแนว การเรียงอิฐสลับไม่ฉาบทับ เสาบ้านเป็นคอนกรีตเปลือย แทรกด้วยวัสดุเหล็กและไม้ ที่เห็นเนื้อแท้ ตามธรรมชาติได้ชัดเจน นอกจากนี้ให้ความสำคัญกับการใช้งานจริง และฟังก์ชันที่เน้นแบบไม่ปรุงแต่ง หรือแต่งเติมน้อยที่สุด ด้วยวิธีคิดนี้ จึงนำมาใช้กับการติดตั้งไฟฟ้า ไฮดรอลิก และเครื่องปรับอากาศที่เปิดให้เห็นเส้นสายโครงสร้าง ซึ่งช่วยทำให้หน้างานที่สะอาด เร็ว และประหยัด

บ้านสัจจะวัสดุ นำเสนอบรรยากาศดิบ เท่ เซอร์ๆ แบบอารมณ์อาร์ทติส ปล่อยให้เห็นโครงสร้างภายใน ในยุคหนึ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้วเป็นที่นิยมอย่างมาก เรียกสไตล์นี้ว่าลอฟท์ หรืออินดัสเทรียล แม้เวลาจะผ่านไปจนเทรนด์เริ่มจาง แต่คนที่ชื่นชอบในเสน่ห์ของปูน เหล็ก อิฐก็ยังคงมีอยู่

เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในบ้านในปริมาณ ที่พอสำหรับการใช้งานช่วงกลางวัน สถาปนิกจึงสร้างแกน กลางบ้านเชื่อมต่อในแนวตั้งเจาะเพดานสูง 2 เท่า (Double Space) ในพื้นที่ส่วนกลางและทำช่องเปิดขนาดใหญ่พร้อมผนังกระจก เพื่อเปิดรับแสงจากด้านบน บนชั้นสองไม่มีทางเดิน การไหลเวียนจะเกิดขึ้นผ่านสะพานที่ เชื่อมต่อทั้งสองด้านของบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่กลางแจ้ง มีเฉลียงที่ชั้นล่างใต้ซุ้มระแนงไม้ และระเบียงบนชั้นสอง ซึ่งคุณสามารถชมวิว ที่สวยงามของบริเวณโดยรอบได้

นอกจากการเชื่อมต่อแนวตั้งแล้ว ยังทำแปลนแบบ open plan เชื่อมต่อในพื้นที่แนวนอน สร้างความต่อเนื่อง จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างลื่นไหลกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ รวมห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว แพนทรีครัว ไว้ด้วยกันในจุดเดียว บรรยากาศของบ้านจึงเต็มไปด้วยพื้นที่กว้างขวาง สว่าง สดใส ผสมผสานกันอย่างลงตัว จากพื้นที่ส่วนกลางเราสามารถ มองเห็นห้องเกือบทั้งหมดของบ้านได้เลย

ห้องนอนมีส่วนที่เลือกเน้น โชว์อิฐก่อไม่ฉาบเรียบ

ห้องนอนมีส่วนที่เลือกเน้น โชว์อิฐก่อไม่ฉาบเรียบ เฉพาะบริเวณผนังตรงหัวเตียงเท่านั้น ทำให้เห็นสีของอิฐแต่ละก้อนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับทีมาของดินและอุณหภูมิที่เผา และไม่ได้เปลือยคานเหนือฝ้า หรือเปิดให้เห็นท่อระบบต่างๆ มากนัก ส่วนอื่นๆ ของห้องเน้นใช้งานไม้และสีขาวในบริเวณกว้าง เพื่อให้ห้องนอนที่ต้องการบรรยากาศ ผ่อนคลายไม่ดิบ กระด้าง จนรู้สึกไม่สบายตา บ้านหรู

การตกแต่งบ้านสไตล์ Loft ไม่ใช่เพียงการทำผนัง ปูนเปลือยโชว์เส้นกริดไลน์ หรือปูนขัดมันเท่านั้น เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติม อย่างการโชว์โครงสร้างเดิม ของอาคารแบบเปลือยๆ ดิบๆ ไม่ปรุงแต่งของเสาคอนกรีต โครงหลังคาเหล็ก อิฐก่อโชว์แนวไม่ต้องฉาบเรียบ

เปิดคานเหนือฝ้า วางระบบและท่อต่างๆ ให้เห็นบนผนังหรือเพดาน โดยไม่ต้องตีฝ้าเก็บซ่อน เฟอร์นิเจอร์ไม่เน้นแบบบิวท์อิน เลือกใช้แบบลอยตัวที่เคลื่อนย้ายง่ายมากกว่า บ้านจึงดูโล่งโปร่งสบาย ในขณะเดียวกันผิวสัมผัสของวัสดุ ที่ดิบออย่างปูนเปลือยในบริเวณกว้าง อาจทำให้บ้านดูขรึม หนัก รู้สึกอึดอัด ไม่อบอุ่น การเพิ่มโทนสีขาว งานไม้ และกระจก จะสร้างความรู้สึกสมดุลให้บ้านมากขึ้น

แบบที่ 2 บ้านชั้นเดียวโชว์อิฐ ไม่ต้องดูแล ไม่ฉาบทับ ไม่ทาสี

บ้านชั้นเดียวโชว์อิฐ ไม่ต้องดูแล ไม่ฉาบทับ ไม่ทาสี

เมื่อพูดถึงการออกแบบ ครอบครัวนี้ไม่ได้คิดอะไรเป็นพิเศษ “เรารู้แค่ว่าเราต้องการอิฐเปลือย และวัสดุที่การบำรุงรักษาต่ำ ที่เหลือขึ้นอยู่กับสถาปนิกเลย” เจ้าของบ้านกล่าว นอกจากงานก่ออิฐแล้วทีมงานจึงศึกษาบริบทแวดล้อมอย่างละเอียด และพบว่ารอบบ้านมีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้และแหล่งน้ำธรรมชาติที่ดึงดูดนกนานาพันธุ์ให้แวะเวียนมาเยี่ยม

จึงตั้งใจสร้างพื้นที่ส่วนตัวพร้อมทิวทัศน์ของทะเลสาบและสวน แล้วกำหนดมุมมองให้เห็นความสวยงามได้ทุกด้าน โดยวางแปลนบ้านเป็นรูปกากบาทที่มีระเบียงเปิดทำหน้าที่เป็นแกนหนึ่ง และทางเดินแคบๆ ที่ทำหน้าที่เป็นอีกแกนหนึ่ง

จากโถงทางเดินที่นำทางเข้าสู่พื้นที่ใช้งานในแกนหนึ่งของบ้าน จะเห็นฉากหลังเป็นอิฐสีแดงเสริมด้วยผิวไม้อัด พื้นหินโกต้าสีเทา “อิฐเปลือยเหล่านี้ไม่ใด้ทำหน้าที่เพิ่มความสวยงามด้านสุนทรียศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นโครงสร้างส่วนบนที่รับน้ำหนักตัวบ้าน ช่างก่อสร้างใช้ความอุตสาหะในการค่อยๆ เจาะอิฐทีละก้อนเพื่อเปิดช่องสำหรับใส่ท่อร้อยสายไฟฟ้าและระบบบริการอื่นๆ และปิดอิฐทับกลับเข้าไปอย่างแนบเนียน” สถาปนิกอธิบาย

ภายในบ้านแบ่งออกเป็น 3 โซนใหญ่ ๆ คือพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ครัว อยู่ตรงกลางเป็นโถงโล่งๆ ยาวไปเชื่อมต่อลานกรวดด้านหลัง และจะมีทางเดินเชื่อมออกไปยังโซนด้านข้าง 2 โซนที่เป็นห้องนอน 2 ห้องพร้อมส่วนบริการ ในห้องนั่งเล่นจะมีการวัดปริมาณและทิศทางของแสงแดดผ่านหน้าต่างช่องยาว ในขณะที่กล่องคอนกรีตข้างหน้าที่ยื่นออกไปแบบเปิดโล่งจะช่วยลดแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ตะวันตกที่รุนแรง บ้านชั้นเดียวโชว์อิฐ

ในวันหยุดสุดสัปดาห์เมื่อครอบครัวแวะมาพักผ่อน ตอนเช้าสมาชิกในบ้านชอบออกมานั่งในห้องนั่งเล่น ที่ฉาบทาด้วยแสงแดดอ่อนๆ ทั่วพื้นที่ มองดูท้องฟ้า ฟังเสียงนกในนาข้าวและนกแซงแซวสีม่วงที่มักจะแวะมาเล่นน้ำพร้อมขับขานเสียงอันไพเราะให้ได้ฟัง ชิงช้าในบ้านที่ห้อยอยู่ตรงกลางบ้านกลายจุดโปรดสำหรับนั่งเล่นพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวและทานของว่าง และเนื่องจากชิงช้าหันไปทางทิศตะวันตก เจ้าของบ้านจึงสามารถมองเห็นภาพรวมที่พักทั้งหมดและชมพระอาทิตย์ตกดินคลอไปกับเสียงเพลงเบาๆ สร้างช่วงเวลาแสนสุขตั้งแต่เช้าจรดค่ำ

ห้องนั่งเล่น

ลานหินกรวดล้อมรอบด้วยซุ้มไม้เลื้อย มีพื้นที่เตรียมอาหารและห้องครัวแบบเปิด จึงเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ดูมีอิสระไร้ขอบเขต แต่จริงๆ แล้วทุกพื้นที่ช่องเปิดขนาดใหญ่จะจะซ่อนระบบประตูเอาไว้ สามารถเปิดออกได้กว้างในวันที่มาใช้งานและปิดเพื่อความปลอดภัยในช่วงที่ไม่อยู่

อิฐมอญหรืออิฐแดง เป็นวัสดุบ้านๆ ที่คงทนต่อสภาพอากาศ มีความแข็งแกร่ง ทนทาน อายุการใช้งานนาน การยึดเกาะของเนื้อผิวดี จึง สามารถทุบ สกัด เจาะ ฝังอุปกรณ์ต่างๆ ที่รับน้ำหนักมากๆ ได้ สามารถใช้ในการตกแต่งได้หลายสไตล์ได้ดี สามารถใช่ก่ออิฐโชว์แนว สไตล์ลอฟท์ หรือวินเทจได้โดยไม่ต้องฉาบทับหรือทาสี ช่วยให้ประหยัดงบประมาณส่วนนี้ได้อีกมากทีเดียว แต่ข้อเสียหลัก ๆ ของอิฐก็มี

อาทิ อิฐจะเก็บความร้อนไว้ในเนื้อวัสดุได้นาน สังเกตดูเวลาที่เราแตะผนังภายในบ้านตอนที่แดดร้อนจัด ผนังจะร้อนมากและจะยังคงร้อนไปจนถึงช่วงค่ำจึงค่อยๆ เย็นตัวลง และดูดซับความชื้นได้ดีเช่นกัน เพื่อป้องกันความร้อนอาจก่อด้วยระบบผนัง 2 ชั้น และทาน้ำยาเคลือบอิฐปกป้องพื้นผิวจากความชื้น