รีโนเวทบ้านชั้นเดียว
รีโนเวทบ้านชั้นเดียว จากบ้านเก่าสุดโทรมตามยุคสมัย กลายเป็นบ้านหลังใหม่อบอุ่นและน่าอยู่ ใครกำลังมองหาตัวอย่างรีโนเวทบ้านชั้นเดียวอยู่ แวะเข้ามาส่องกันได้เลยใครวางแผนอยาก รีโนเวทบ้านชั้นเดียว ในอนาคต อาจเนื่องด้วยครอบครัวขยาย สภาพบ้านแบบเดิมไม่ทันสมัย หรือซื้อต่อจากคนอื่นเลยอยากซ่อมแซมก่อนอยู่ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร อยากให้ลองเข้ามาดูไอเดียรีโนเวทบ้านชั้นเดียวงาม ๆ หลากหลายรูปแบบ สามารถเอาไปปรับใช้กับแบบบ้านของตัวเองได้จริง ถ้าพร้อมแล้วมาชมไปพร้อมกันเลยค่ะ
รีโนเวทบ้านชั้นเดียวพร้อมต่อเติมห้องนอน บรรยากาศเหมือนรีสอร์ต
Before
After
เนื่องจากบ้านชั้นเดียวหลังเดิมมืดทึบและมีพื้นที่ว่างเยอะ เจ้าของบ้านจึงอยากให้ คุณ tauhoo สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ทำการรีโนเวทเสียใหม่ โดยเพิ่มหน้าต่างเพื่อให้บ้านมีแสงสว่างมากขึ้น จากเดิมมี 2 ห้องนอน เพิ่มเป็น 3 ห้องนอน ขยายพื้นที่ใช้สอยทั่วไปอย่างห้องรับแขก ห้องกินข้าว ห้องครัว และห้องนั่งเล่น เพิ่มพื้นที่ส่วน Outdoor ในร่มด้านหลังบ้าน จนในที่สุดก็ได้บ้านหลังใหม่สวยงาม บรรยากาศเหมือนรีสอร์ตเลยล่ะรีโนเวทบ้านชั้นเดียวพร้อมต่อเติมห้องนอน มีสระว่ายน้ำกลางบ้าน อย่างกับอยู่ในรีสอร์ตเลย !
2. รีโนเวทบ้านเก่ากลางกรุง เป็นบ้านชั้นเดียวโมเดิร์น
Before
After
ทั้งทำเลที่ตั้งและขนาดพื้นที่บ้านถูกใจ คุณสมาชิกหมายเลข 4657972 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่อยากเปลี่ยนคือสไตล์การตกแต่งบ้าน จึงเป็นที่มาของการรีโนเวทครั้งสำคัญด้วยงบประมาณ 3 ล้านกว่าบาท ใช้เวลาประมาณ 10 เดือน โดยเปลี่ยนทรงหลังคาใหม่ ปรับปรุงภายใน กั้นห้องใหม่ ทำฝ้า ปูพื้นไม้ อยากบอกว่าไม่เหลือเค้าบ้านเดิมจริง ๆ แต่ก็สวยงามเหมือนซื้อใหม่เลยค่ะแปลงโฉมบ้านเก่ากลางกรุง เป็นบ้านใหม่แสนสวยเพื่อครอบครัว
3. รีโนเวทบ้านเก่ามือสอง เป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์วินเทจ
Before/After
จากชีวิตหนุ่มน้อยผู้อยู่หอมาตลอด 6 ปี คิดอยากมีบ้านหลังเล็กในกรุงเทพฯ สักหลัง จึงได้ลงทุนซื้อบ้านชั้นเดียวมือสอง แต่จะย้ายเข้าไปอยู่เลยก็คงหลอน คุณสมาชิกหมายเลข 4963789 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม จึงคิดคอนเซ็ปต์อยากรีโนเวทบ้านเป็นสไตล์วินเทจ บ้านโทนสีขาวตัดกับหลังคาสีเทา แต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแบบลอยตัว มีความดิบโชว์สีไม้ ใช้เวลาเบ็ดเสร็จ 1 เดือนก็ย้ายเข้าพักได้ทันทีรีโนเวทบ้านชั้นเดียว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ สวยชิคสไตล์วินเทจ งบประมาณ 5 แสนบาท
4. รีโนเวทบ้านร้าง เป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์ลอฟท์
Before
After
ใครชอบบ้านสไตล์ลอฟท์เป็นทุนเดิม ยกตัวอย่าง บ้าน LOFT’HOUSE THEPWONG คุณวชิรพล เทพวงษ์ ก็อย่ารอช้ามารีโนเวทบ้านแนวลอฟท์ตามแบบฉบับของตัวเองกัน โดยทุบห้องน้ำภายในบ้าน ย้ายของออกมา เทปูนยกพื้นสูง ฉาบผนังทำเป็นปูนขัดมัน ก่ออิฐโชว์ลาย ทำฝ้ากันความร้อน เพิ่มโคมไฟห้อยระย้าทั้งส่วนห้องรับแขกและห้องนอน ติดกระจกหน้าบ้าน สุดท้ายทำทางขึ้นสำหรับมอเตอร์ไซค์รีโนเวทบ้านชั้นเดียว 1 ห้องนอน แปลงโฉมบ้านร้างเป็นบ้านลอฟท์
5. รีโนเวทบ้านชั้นเดียว 3 ห้องนอน และเพิ่มทางเชื่อมหลังบ้าน
Before
After
บ้านเก่าทรุดโทรมตามกาลเวลา เจ้าของบ้านจึงอยากให้ Habitech Systems รีโนเวทใหม่โดยใช้ไม้ตกแต่งหน้าบ้านแทนผนังอิฐโชว์แนวเพื่อให้ดูทันสมัย นอกจากนี้ยังทำหน้าต่างให้กว้างขึ้น พร้อมกับเทพื้นระเบียงใหม่จากอิฐเป็นคอนกรีต ทั้งยังขยายพื้นที่ใช้สอยด้วยการต่อเติมหลังบ้านเพิ่มด้วยแบบบ้านชั้นเดียว 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ รีโนเวทใหม่สไตล์โมเดิร์น
10 ขั้นตอนรีโนเวทบ้าน ให้เป็นทรัพย์ที่มีค่า
1.ประเมินงบประมาณตัวเอง
ก่อนรีโรเวทบ้าน/ซ่อมแซม/ต่อเติมทุกครั้ง ต้องตรวจดูงบประมาณของตัวเองว่า มีเท่าไหร่ พอที่จะรีโนเวทบ้านใหม่หรือไม่ แต่จะมีงบรีโนเวทอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีงบสำรองไว้ด้วย เผื่อยามฉุกเฉินจะได้นำเงินส่วนนี้มาแก้ไขได้ทัน
2. ตั้งวัตถุประสงค์
การตั้งวัตถุประสงค์ ช่วยให้คุณไม่วอกแวก และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ดังนั้น ก่อนคิดจะรีโนเวทบ้านต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่า อยากรีโนเวทแบบไหน เช่น
– ปรับปรุงบ้านทั้งหลัง เนื่องจากสภาพเก่าทรุดโทรมมาก หรือมีความเสียหายหลายส่วน
– จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยใหม่ให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น
– ซ่อมแซมบางส่วนที่เสียหาย โดยถือโอกาสปรับปรุงสภาพให้ดียิ่งขึ้น เช่น เพดานห้องนอนชำรุด หรือพื้นดาดฟ้ารั่ว
– ปรับปรุงใหม่ให้ใช้งานดีขึ้น ถึงแม้ไม่ได้มีอะไรเสียหายก็ตามเช่น ปรับเปลี่ยนมุมหน้าต่างใหม่เพื่อรับแสงแดด
– ปรับโฉมใหม่ตามสไตล์ที่ชอบ เช่น ปรับแต่งห้องนั่งเล่นให้เหมือนสวนธรรมชาติ
3. รวบรวมข้อมูลและรูปแบบที่ชอบ
ไม่ว่าคุณจะต้องการรีโนเวทตรงส่วนไหนของบ้าน ต้องไปศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด พร้อมรวบรวมรูปแบบที่ตัวเองต้องการ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง หรือเป็นข้อมูลในการออกแบบของสถาปนิกหรือมัณฑนากร และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
4. หาแหล่งวัสดุ
ในขั้นตอนการรีโรเวทบ้าน การหาแหล่งวัสดุเป็นเรื่องสำคัญ แต่คุณต้องรู้ก่อนว่า ตัวเองต้องการรีโนเวทบ้านแบบไหน และส่วนใหญ่เขาใช้วัสดุอะไร พร้อมหาข้อมูลวัสดุชนิดเหล่านั้นอย่างละเอียด แล้วไปหาแหล่งซื้อวัสดุอีกที เพื่อให้ได้ราคาที่พอเหมาะ และต้องอยู่ภายในงบประมาณที่ตัวเองตั้งไว้ด้วย
5. ตรวจสอบสภาพพื้นที่
ก่อนรีโนเวทบ้าน ควรตรวจสอบส่วนต่างๆ ของบ้าน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปรับปรุงว่ามีส่วนใดยังใช้งานได้ดี หรือมีส่วนใดที่เสียหายต้องซ่อมแซมทั้งก่อน และขณะลงมือปรับปรุงบ้าน โดยการทำ Check List ในแต่ละห้องหรือแต่ละพื้นที่ตามประเภทงานต่างๆ โดยแบ่งเป็นงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม พื้นที่รอบบ้าน งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาและสุขาภิบาล รวมถึงระบบปรับอากาศ (ถ้ามี) ตลอดจนกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมในแต่ละงาน โดยอาจจะปรึกษาวิศวกร สถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
6. สรุปงานที่ต้องการปรับปรุง
วิธีการสรุปงานที่ต้องปรับปรุง ต้องพิจารณางานจาก Check List ที่ทำไว้ในข้อที่ผ่านมา และสรุปเนื้องานที่ต้องการปรับปรุงตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้
7. จัดงบประมาณในการปรับปรุงบ้าน
การใช้งบประมาณรีโรเวทบ้าน ไม่ใช่รีโนเวทบ้านอย่างเดียว หรือซ่อมแซมบ้านแค่นั้นก็จบ แต่ยังต้องใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น วิธีการแบ่งงบประมาณมีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1 ค่าออกแบบโดยสถาปนิก มัณฑนากร วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบต่างๆ
2 ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุง ได้แก่ ค่าวัสดุ ค่าแรงก่อสร้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าดำเนินการต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง
3 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าโกดังเก็บของ ค่าเช่าบ้านอยู่ชั่วคราว ค่าดำเนินการขออนุญาตปรับปรุงบ้านกับหน่วยงานราชการ (สำหรับกรณีที่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต) ค่าบริการที่ปรึกษางานก่อสร้าง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังต้องมีค่าใช้จ่ายสำรองในส่วนอื่น ๆ อีก ดังนั้น คุณควรตั้งงบประมาณให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้บานปลาย
8. ปรึกษาผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญ
คุณต้องรู้ก่อนว่า ผู้รับเหมากับผู้ออกแบบแยกกันคนละราย โดยเจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแบบให้ตรงตามความต้องการได้จากผู้ออกแบบ ก่อนดำเนินการก่อสร้างโดยผู้รับเหมา นอกจากนี้ผู้ออกแบบจะมีส่วนร่วมในฐานะที่ปรึกษาของเจ้าของบ้าน ตลอดจนร่วมตรวจคุณภาพงานและวิธีแก้ปัญหาของผู้รับเหมาในระหว่างก่อสร้างด้วย
ดังนั้น นอกเหนือจากประสบการณ์ด้านการออกแบบแล้ว ประสบการณ์ด้านการควบคุมงานและประสานงานก่อสร้างของผู้ออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลต่อความล่าช้าและงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้
9. วางแผนการทำงาน
ก่อนที่ผู้รับเหมาจะดำเนินการปรับปรุงบ้าน ต้องมีการวางแผนหรือแจกแจงรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องซ่อมแซมส่วนที่ต้องการ หรือไล่ลับดับการปรับปรุงบ้านให้ดูดีขึ้น
10.ดูบ้านตัวอย่าง
การดูบ้านตัวอย่างจากหลาย ๆ แห่ง เพื่อเอามาประยุกต์ใช้กับตัวเองนั้นถือว่าดีมาก แต่จะดีกว่านี้ต้องเข้าไปพูดคุยกับเจ้าบ้านตัวอย่างโดยตรง เพื่อขอรายละเอียดในการรีโนเวทบ้าน พร้อมรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการลองผิดลองถูกจนต้องเสียงบประมาณและเสียเวลาสำหรับการรีโนเวทบ้าน check here