บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น

บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น

บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น สวยงามดูอบอุ่น

สำหรับ บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น ของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ติดกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ในเมืองหรือชนบท แต่คุณสมบัติสำคัญของบ้านชาวญี่ปุ่นนั้น จะให้ความสำคัญเรื่อง ความเป็นส่วนตัวและแสงสว่าง จากธรรมชาติ แม้ที่พักอาศัยในเมือง อย่างอะพาร์ตเมนท์ก็จะมีคุณสมบัติ บางอย่างคงอยู่เช่น อ่างอาบน้ำแบบแช่ตัว แต่นอกจากเรื่องอ่างอาบน้ำ แล้วยังมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่บอกว่าบ้านนี้ เป็นบ้านไม้กลิ่นอายสไตล์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น

บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น

ลักษณะบ้านไม้กลิ่นกลิ่นญี่ปุ่น

บ้านของชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน วิลล่าภูเก็ตที่ขาย จะถูกสร้างด้วยวัสดุที่เป็นไม้ และกระดาษเกือบทั้งหลัง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ คือเป็น บ้าน สำหรับชาวเกษตร และบ้านสำหรับชาวเมือง บ้านของชาวเกษตรมีหลังคาเป็นหญ้า (ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) ถ้าคุณไปต่างจังหวัดก็คงยังพบเห็นอยู่ บ้านของชาวเมือง (รวมถึงเจ้าเมืองสมัยนั้น) มีหลังคาเป็น กระเบื้อง บ้านเขตร้อนรูปตัว L

ในสเน่ห์ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น คือการสร้างบ้าน ให้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รอบๆบ้านจะต้องมีต้นไม้ สวนดอกไม้ พืชผักสวนครัว ก้อนหิน น้ำตก หรือธารน้ำ เป็นต้น เอกลักษณ์ของการดีไซน์ บ้านแบบชาวญี่ปุ่นคือ การใช้ไม้ระแนงซีกเล็กๆ เรียงกันเป็นแผง ใช้ตกแต่งส่วนต่างๆของตัวบ้าน บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมีพื้นยกสูงประมาณ 30~60cm แต่จะไม่สูงเท่ากับบ้านแบบไทย พื้นยกที่ต้องขึ้นบันได สำหรับการยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนี้ ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านมีหน้าที่ระบายความชื้น เพราะว่าภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นมีความชื้นมาก ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะคล้ายๆ กับหลักของการสร้างบ้านในไทย เหมือนกันและมีอะไรบ้างลองมาดูกันเลย

หากใครที่ชื่นชอบความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชนชาตินี้ อยากจะตกแต่งบ้านให้มีกลิ่นไอของความเป็นญี่ปุ่น วันนี้ “มาดูห้อง” เลยถือโอกาสนำแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นทั้งแบบโบราณดั้งเดิม และแบบโมเดิร์นเจแปนมาฝากกัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นไอเดียในการสร้างบ้านในฝัน ไม้กลิ่นอายสไตล์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น และมีอะไรบ้างลองมาดูกัน

1.ประตูทางเข้าที่มิดชิด

คือเนื่องจากที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น SALE VILLA ไม่มีทางเท้าแยกระหว่างพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว ดังนั้นประตูทางเข้าหน้าบ้าน หรือที่พักจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นประตูแบบมีหลังคาด้วย

2.กำแพงล้อมรอบ

ความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่โดยรอบ การสร้างกำแพงล้อมรอบบ้าน หรือที่พักอาศัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น และคอนกรีตเป็นวัสดุสำคัญที่ชาวญี่ปุ่นเลือกใช้เป็นหลัก นอกจากนั้นก็เป็นกำแพงหิน หรือรั้วไม้เองก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม

บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น

3.หลังคากระเบื้อง

ซึ่งเนื่องจากญี่ปุ่นเองก็เป็นประเทศที่มีฝนตกชุก กระเบื้องของบ้านชาวญี่ปุ่นจึงถูกออกแบบมาให้มีขนาดกว้างเพื่อช่วยระบายน้ำจำนวนมากออกจากบ้าน นอกจากนั้นความกว้างของชายคายังช่วยทำให้เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่เปิดประตูบ้านออกมาไม่เปียกฝนในขณะที่ยังช่วยระบายอากาศภายในบ้านไปด้วยในตัว

4.ทางเข้าบ้านแบบยกพื้น

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่บ่งบอกความเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมคือทางเข้าบ้านที่มีลักษณะยกพื้นขึ้นจากระดับปกติ เพื่อแยกส่วนของนอกบ้านกับในบ้าน ซึ่งบริเวณนี้ใช้เป็นที่สำหรับเปลี่ยนรองเท้า นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังต้องมีการประดับตกแต่งทั้งเซรามิก ดอกไม้ หรือผลงานศิลปะ รวมไปถึงการจัดดอกไม้แบบอิเคบานะ ซึ่งเป็นการจัดดอกไม้แบบดั้งเดิม

5.ตำแหน่งที่เหมาะสม

วางแผนเรื่องตำแหน่งที่ตั้งอันเหมาะสมของบ้านชาวญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญ บ้านที่ตั้งทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ ห้องหลักๆ มักหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน ส่วนวิวที่มองออกไปนั้นก็จะต้องเห็นภูเขา แม่น้ำ หรือสวน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวญี่ปุ่น

6.โถงทางเดินด้านนอก

ซึ่งนอกจากห้องที่เชื่อมกันแล้ว โถงทางเดินขนาดกว้างที่รู้จักกัน ในชื่อเอ็นกาวาก็เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างในบ้าน กับนอกบ้าน สำหรับในเดือนที่อากาศอุ่นโถงทางเดินด้านนอกเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นระเบียง เพื่อให้แสงและอากาศถ่ายเทตลอดทั้งปี 

7.ประตูบานเลื่อน

นี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

8.การรักษาความเป็นธรรมชาติของไม้ไว้

บ้านชาวญี่ปุ่น Villas in Pasak มักจะมีการเคลือบสีให้ไม้ แต่จะไม่มีการทาสีใหม่ รวมทั้งเวลานำต้นไม้มาใช้ก็นำมาใช้ทั้งต้น โดยเฉพาะนำมาใช้เป็นคาน

9.เสื่อทาทามิ

และคุณสมบัติอันโดดเด่นของเสื่อทาทามินั้น ก็คือจะให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว และจะทำให้รู้สึกเย็นสบายในหน้าร้อน แม้เสื่อทาทามิจะมีราคาแพงแต่ระยะเวลาการใช้งานนั้นคุ้มค่าเพราะเมื่อปูเสื่อทาทามิจะไม่อนุญาตให้ใส่รองเท้า สำหรับรูปทรงของเสื่อนั้นเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าผูกขอบด้วยผ้าสีดำ

10.ห้องอเนกประสงค์

เพราะว่ายังคงมีการพับเก็บที่นอนไว้ในตู้เสื้อผ้า ในระหว่างวันเราจึงอาจใช้ห้องสำหรับนั่งทานอาหาร หรือนอนเล่น ดังนั้นพื้นที่ในห้องนี้จึงเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ รวมทั้งยังต้องสามารถเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา

11.อ่างอาบน้ำแบบดั้งเดิม

ซึ่งในอดีตชาวญี่ปุ่นอาบน้ำในที่อาบน้ำสาธารณะที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบ้านพักอาศัย จะมีเพียงผู้มีฐานะเท่านั้นที่มีอ่างอาบน้ำในบ้านของตนเองเนื่องจากมีความสิ้นเปลืองเรื่องค่าใช้จ่าย และต้องใช้พื้นที่ในการตั้งอ่างอาบน้ำ แม้ว่าห้องอาบน้ำสาธารณะยังคงมีอยู่ แต่หลายๆ บ้านก็มีที่อาบน้ำแบบส่วนตัวกันแล้ว เพราะการอาบน้ำสำหรับชาวญี่ปุ่นยังถือเป็นพิธีกรรมสำคัญประจำวัน

12.มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดระหว่างพื้นที่ในบ้านกับนอกบ้าน

ในแนวคิดเรื่องประตูเลื่อน หรือหน้าต่างที่เป็นบานเลื่อนถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบ้านชาวญี่ปุ่น เพราะความงามทั้งในร่มและเอาท์ดอร์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการออกแบบที่สถาปนิกยึดถือ

บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น

บ้านไม้อยู่แล้วดีอย่างไร? รวม 10 ข้อดีของการอยู่อาศัยในบ้านไม้

เพราะว่าในอดีต ไม้ เป็นวัสดุหลักที่ มนุษย์เรานำมาใช้ในการสร้างบ้าน เนื่องด้วยไม้สามารถหาได้ง่าย ตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้เราจะมีวัสดุทดแทนต่างๆ มากมายที่ใช้ เป็นวัสดุในการสร้างบ้าน แต่ความนิยมในการใช้ไม้สร้างบ้าน กลับไม่เคยลดลงไปตามกาลเวลาเลย

ซึ่งหลายคนคงเกิดการตั้งคำถาม อยู่ในใจว่าเป็นเพราะอะไร ใช้ไม้สร้างบ้านจะดีจริงหรือ? ต้นทุนวัสดุก่อสร้างก็ไม่ใช่ถูกๆ อยู่อาศัยแล้วจะคุ้มค่าไหม? อยู่ในบ้านที่สร้างด้วยไม้จะเป็นอย่างไร? ซึ่งในบทความนี้จะขอนำเสนอ 10 คำตอบของคำถามมากมายเหล่านี้ให้

1. บ้านไม้อยู่แล้วเย็นสบายไม่อบอ้าว

ถึงแม้ว่าไม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเท่าไหร่นัก แต่ข้อดีของไม้ คือสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลง และไม่ร้อนอบอ้าว ยิ่งในช่วงกลางคืน บ้านไม้ยิ่งมอบความเย็นสบายได้มากกว่าวัสดุอื่น

2. บ้านไม้ทำให้พื้นที่ดูกว้างขวางขึ้น

ลักษณะของพื้นและผนังไม้ที่เป็นแผ่นแนวยาว วิลล่าภูเก็ตป่าสัก จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่า ห้องดูกว้างขวางกว่าความเป็นจริง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ มอบความสบาย ทำให้ไม่รู้สึกแออัดในพื้นที่กรอบสี่เหลี่ยมเดิมๆ

3. บ้านไม้สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้หลากหลาย

ซึ่งเนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง หากต้องการปรับแต่ง ต่อเติมก็สามารถทำได้ง่าย ไม้สามารถนำมาตกแต่งโดยผสมผสานเข้ากับวัสดุอื่นๆ ได้อย่างลงตัว โดยเราจะเห็นแบบบ้านไม้ผสมกับปูนอยู่บ่อยๆ หรือจะเป็นโครงสร้างเหล็กผสมกับไม้ก็มีให้เห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ บ้านไม้ยังสามารถโยกย้าย และรื้อถอนเพื่อนำไปปลูกสร้างในที่ดินผืนใหม่ได้ ต่างจากปูนที่ต้องทุบทิ้งอย่างเดียว

4. บ้านไม้อยู่แล้วอากาศถ่ายเท

เพราะว่าจากบ้านไม้จะมีช่องว่าง ตามรอยต่อของไม้ในจุดต่างๆ จึงทำให้มีความโปร่ง และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีกว่า จึงช่วยให้หายใจสะดวก ไม่อุดอู้ ต่างจากบ้านปูนที่หากไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ จะมีความร้อนมากกว่า

5. บ้านไม้อยู่แล้วปลอดภัยจากแผ่นดินไหวมากกว่า

ในเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว มักพบว่าบ้านที่ทำจากวัสดุไม้เป็นหลัก จะเกิดความเสียหายน้อยกว่า หรือ บางครั้งก็ไม่พบความเสียหายเกิดขึ้นเลย นั่นเป็นเพราะความแข็งแรงของไม้ที่แฝงความยืดหยุ่นในตัวเอง ในขณะที่บ้านประเภทอื่น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจเกิดการแตกตัว แต่ไม้จะยังคงทนอยู่ในจุดที่สูงกว่านั่นเอง ประกอบกับโครงสร้างไม้มีน้ำหนักเบากว่า เมื่อเกิดแรงปะทะจากแผ่นดินไหว จึงเกิดแรงปะทะที่น้อยกว่าโครงสร้างที่มีน้ำหนักมากกว่า เช่น ปูน เป็นต้น

6. บ้านไม้มีความคงทน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ถ้าหากบ้านไม้ของเราสร้างขึ้นจากไม้เนื้อแข็งคุณภาพดีเป็นหลัก อย่างไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งชนิดต่างๆ ประกอบกับการดูแลเอาใจใส่รักษาเนื้อไม้เป็นอย่างดี เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยารักษาเนื้อไม้ “Solignum Colourless TK” ป้องกันปลวก และแมลงทำลายเนื้อไม้ ก็จะได้บ้านที่มีความคงทน อยู่อาศัยได้ยาวนาน 

7. บ้านไม้อยู่แล้วเท่ คลาสสิก มีรสนิยม

สำหรับบ้านไม้ ไม่เคยตกยุคตกสมัยไปตามกาลเวลา เพราะบ้านไม้อยู่ร่วมสมัยกับคนเรามาโดยตลอด ให้ความคลาสสิก ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปีก็ยังคงสร้างรสนิยมให้กับผู้อยู่อาศัยได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

8. บ้านไม้อยู่แล้วรักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในเทรนด์รักษ์โลกในปัจจุบันได้รับความนิยมกันในหลายๆ ภาคส่วนมากขึ้น ซึ่งการใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างนั้นนับว่าสอดคล้องกับเทรนด์นี้ เนื่องจากไม้สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้ สร้างใหม่ทดแทนได้ อีกทั้งยังย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ การใช้วัสดุไม้ในการก่อสร้าง แทนวัสดุอย่างเหล็ก หรือ คอนกรีต ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากสิ่งปลูกสร้างได้มากกว่า 80% จึงช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

9. บ้านไม้อยู่แล้วช่วยเสริมสร้างไอเดียและจินตนาการ

ข้อนี้อาจฟังดูเป็นนามธรรม แต่หากได้สัมผัส หรือ คลุกคลีอยู่กับวัสดุไม้ จะรู้สึกได้ถึงข้อดีข้อนี้ สังเกตได้จากที่มีการใช้ไม้มาทำเป็นของเล่นเด็ก เช่น ตัวต่อไม้ ของเล่นไม้เสริมพัฒนาการ ซึ่งเด็กจะสร้างสรรค์เป็นรูปทรง สิ่งของต่างๆ ตามจินตนาการ นับได้ว่าไม่ต่างอะไรกับผู้ใหญ่อย่างเรา ที่เมื่อมองรูปทรงต่างๆ ของไม้ภายในบ้านทุกวัน ก็อาจเกิดปิ๊งไอเดียนำมาพัฒนา หรือประยุกต์เข้ากับงานที่ทำอยู่ก็เป็นได้

10. บ้านไม้อยู่แล้วทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

ในทุกวันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกสูง ทั้งยังหนีไม่พ้นปัญหามลพิษทางอากาศ หากได้อาศัยอยู่ท่ามกลางบ้านที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ คงจะทำให้เรารู้สึกสดชื่นมากกว่าบ้านที่ถูกเคลือบปิดด้วยวัสดุชนิดอื่นๆ สังเกตได้จากบ้านพัก หรือรีสอร์ท ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ต่างนิยมใช้วัสดุไม้เป็นหลัก เพราะให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างสมดุล ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อไม้ยังมีความสวยงาม และมอบสัมผัสที่อบอุ่นได้อีกด้วย


อ่านบทความเพิ่มเติ่ม ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต invest in phuket property phuket villa for sale phuket village village phuket รีวิวบ้าน ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน วิลล่าราคาถูกภูเก็ต วิลล่าภูเก็ตที่ขาย

ซื้อวิลล่า ภูเก็ต Sale Villas Phuket (RU) ภูเก็ตวิลล่า คอร์ปอเรชั่น