องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน

องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน

องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน หลักการออกแบบบ้าน ที่ควรคำนึงถึงก่อนที่จะสร้างบ้าน บ้านถือเป็นศูนย์รวมของคนทั้งบ้านและบางคนใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการออกแบบบ้าน เพราะถ้าหากออกแบบบ้านมาไม่ดี ไม่ตรงใจ ใช้งานไม่ได้จริง ก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่มีความสุขในการอยู่บ้านและต้องเผชิญกับปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย วันนี้แอดมินจึงนำหลักการในการออกแบบบ้านมาฝากก่อนที่จะตัดสินใจสร้างบ้านกัน

องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน

การก่อสร้างบ้านหนึ่งหลังจะมี องค์ประกอบและส่วนต่างๆ มารวมกัน เพื่อให้เราได้บ้านที่สมบูรณ์พร้อม ให้เราได้อยู่อาศัย ซึ่งองค์ประกอบในการสร้างบ้าน จะประกอบด้วย โครงสร้าง หลังคา ฉนวน ฝ้าเพดาน ผนัง ประตู-หน้าต่าง รั้ว ที่จอดรถ ระบบที่เกี่ยวข้อง และวัสดุตกแต่งปิดผิว นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญ ที่มีรายละเอียดในการก่อสร้างบ้านมากกว่าส่วนอื่นอย่างครัว และห้องน้ำอีกด้วย

องค์ประกอบของการออกแบบบ้าน บ้านสำหรับชนชั้นกลางทั่วไป ที่สร้างบนที่ดินขนาด 50-150 ตร.วา มักจะเป็นบ้านจัดสรรที่ไม่มีคุณภาพ ขาดองค์ประกอบของบ้านที่สำคัญ เช่น ครัว ห้องเก็บของ โรงรถ ที่สำคัญคือร้อนและอยู่ไม่สบาย บ้านควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้ อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

1.การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน
การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วน สามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การทำการบ้าน การนอน การทำครัว การทานอาหาร การสังสรร หรือประหยัดพลังงาน เมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียงและกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง พื้นที่ ที่ควรแยกเป็นสัดส่วนได้แก่

  • ห้องนอน
  • ห้องครัว
  • ห้องพักผ่อน
  • ห้องนั่งเล่น
  • ห้องน้ำ
  • และหากแยกห้องทางอาหารได้ ก็ยิ่งดี
องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน

2.แสงธรรมชาติ
การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติ ช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสบาย และลดการปิด-เปิดไฟ ที่น่ารำคาญ และไม่ประหยัด
แสงธรรมชาติควรจะมาจากส่วนบน ของห้องจะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่างส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง

3.หลักการระบายอากาศ ควรจะดำเนินการดังนี้

  • จัดสวนรอบบ้าน โดยใช้ต้นไม้ที่มีการเติบโตดี เพราะความเย็นจากต้นไม้ นอกจากจะเกิดจากร่มเงา และการระเหยของน้ำแล้ว ยังเกิดจากการดูดซับพลังงานแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสงด้วย
  • ให้บริเวณโดยรอบบ้านมีการถ่ายเทอากาศปานกลาง เพื่อไม่ให้อับชื้น
  • หากมีบ่อน้ำ ต้องป้องกันไม่ให้น้ำที่ระเหยจากบ่อ เข้าบ้าน
  • ใช้การระบายอากาศ ด้วยแรงยกตัวของอากาศร้อน และใช้การระบายอากาศตามขวาง ห้องที่สูงจะช่วยในการระบายอากาศ และแยกชั้นอากาศร้อนไว้ด้านบน
  • ให้ห้องน้ำ และห้องครัวติดนอกบ้าน ประตูห้องน้ำใช้ประตูทึบ เพื่อป้องกันความชื้นเข้าบ้าน
  • ใช้พัดลมช่วย ก็สบายโขแล้ว

4.การปรับอากาศ
เยาวชนรุ่นใหม่ เกิดในโรงพยาบาลที่ใช้ การปรับอากาศรถยนต์ อาคารสถานที่ต่างๆ ก็ใช้การปรับอากาศ จึงเป็นเหตุให้บ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอน

จึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของ เครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับ เข้ามาส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย

ในปัจจุบันมักจะนิยมใช้ เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องนอน จึงต้องออกแบบให้ห้องนอนมี ฉนวนป้องกันความร้อนและความชื้นเป็นอย่างดี เพื่อให้ขนาดของ เครื่องปรับอากาศเล็ก และภาระการทำความเย็นในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนใกล้เคียงกัน

องค์ประกอบ การออกแบบบ้าน

5.การป้องกันเสียง เสียงรบกวน มักจะมาจาก

  • เสียงรบกวนจากข้างบ้าน และจากถนน
  • กิจกรรมในบ้าน
  • เครื่องระบายความร้อน
  • ห้องน้ำ

ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงดังนี้

  • ใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง
  • จัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน
  • กั้นผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องนอน ด้วยผนังยิปซั่มโดยใช้โครงเคร่าแยก 2 ชั้น และให้มีช่องว่างอากาศอยู่ตรงกลาง
  • ตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
  • กั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ

6.ห้องสำคัญ

อย่าลืมเตรียมห้องเหล่านี้

  • ห้องเก็บของ
  • ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
  • ห้องขยะหน้าบ้าน
  • โรงรถที่มีหลังคาคลุม

องค์ประกอบต่างๆของการสร้างบ้านในฝัน

1.โครงสร้างบ้าน
งานโครงสร้าง บ้าน เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเรื่องความแข็งแรงเพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของบ้าน ผู้อยู่อาศัย และส่วนประกอบอื่นๆ ของบ้าน งานโครงสร้างมีทั้งส่วนใต้ดินและบนดิน ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่การลงเสาเข็ม (ความลึกขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ เพราะมีชั้นดินแข็งที่ลึกแตกต่างกัน หรือบางพื้นที่ไม่จำเป็นต้องมีเสาเข็ม) ฐานราก ตอม่อ คานคอดิน เสา คาน พื้น ดาดฟ้า รวมถึงบันได นอกจากนี้ หากเป็นบ้านที่มีโครงสร้างบ้านรูปแบบอื่นอย่างเช่น ระบบผนังรับน้ำหนักซึ่งไม่มีเสาและคานในโครงสร้าง ผนังก็จะเป็นโครงสร้างของบ้านนั่นเอง​

การก่อสร้างหลังคาหลังจากงานโครงสร้าง

2.หลังคา
การก่อสร้างหลังคาหลังจากงานโครงสร้าง จะทำหน้าที่ช่วยกันแดดฝนให้บ้านได้บ้างก่อนก่อสร้างบ้านส่วนอื่นต่อไป ซึ่งจะประกอบไปด้วย โครงหลังคา (โครงหลังคาทั่วไป จะประกอบไปด้วย อเส ดั้ง อกไก่ ขื่อ แป จันทัน) วัสดุมุงหลังคา (เช่น กระเบื้องหลังคา) และอุปกรณ์ประกอบหลังคาที่ช่วยเรื่องการระบายน้ำฝน การป้องกันความร้อน รวมถึงป้องกันหลังคารั่วซึม

3.ฉนวน
ฉนวน เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสกัดกั้น ซึ่งสำหรับงานสร้างบ้านพักอาศัยจะมีทั้งฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อน คือ วัตถุหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อน หรือการพาความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุสองชิ้น หรือบริเวณสองบริเวณที่มีอุณหภูมิต่างกัน บ้านเดี่ยว

ซึ่งสามารถนำฉนวนกันความร้อนไปติดตั้งได้ทั้งในส่วนของหลังคา ฝ้าเพดาน และงานผนัง เพื่อลดความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน ส่วนฉนวนกันเสียง จะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้เสียงเดินทางผ่านยาก เพื่อกั้นเสียงไม่ให้ทะลุจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง เพื่อให้เสียงจากภายนอกบ้านไม่เข้ามารบกวนและป้องกันเสียงจากภายในบ้านไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน

4.ฝ้าเพดาน
ฝ้าเพดานมีหน้าที่ปกปิดความไม่เรียบร้อยของท่อร้อยสายไฟและงานระบบต่างๆ รวมถึงช่วยลดความร้อนที่จะส่งผ่านลงมาจากทางหลังคาโดยตรง (หากติดตั้งคู่กับฉนวนกันความร้อน จะช่วยลดความร้อนได้ดียิ่งขึ้น) ตลอดจนช่วยลดฝุ่นละอองตามสายไฟและงานระบบที่อาจจะตกลงมาได้ ฝ้าเพดานแบ่งออกเป็นฝ้าภายในและฝ้าภายนอก ซึ่งฝ้าภายในจะมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่น ฝ้าฉาบเรียบ ฝ้าหลุม ฝ้าตีเว้นร่อง ฝ้าทีบาร์

ส่วนฝ้าภายนอกจะนิยมใช้เป็นฝ้าชายคาระบายอากาศ (เพื่อช่วยระบายความร้อนที่โถงหลังคา) โดยฝ้าแต่ละรูปแบบก็สามารถเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ในตัวได้ตามความชอบของเจ้าของบ้าน สิ่งสำคัญคือระดับฝ้าเพดานควรมีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ใช้งาน (เช่น ห้องนั่งเล่น สามารถเลือกระดับฝ้าเพดานที่สูงเพื่อความโปร่งโล่งสบายได้) และมีการติดตั้งที่ถูกวิธีตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในบ้าน

ผนังเป็นองค์ประกอบทางแนวตั้ง มีหน้าที่กำหนดพื้นที่บ้านภายในที่ดินของเรา

5.ผนัง
ผนังเป็นองค์ประกอบทางแนวตั้ง มีหน้าที่กำหนดพื้นที่บ้านภายในที่ดินของเรา ป้องกันคนในบ้านจากสภาวะแวดล้อมภายนอกและคนภายนอก รวมถึงแบ่งพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดเป็นส่วนเพื่อตอบโจทย์การใช้สอยของคนในบ้าน งานผนังนี้เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นผนังก่ออิฐหรือผนังโครงเบา (ประกอบไปด้วยโครงคร่าว และวัสดุแผ่นเบา) และสามารถเว้นหรือเจาะช่องประตูหน้าต่างหรือผนังกระจกได้​

6.ประตู-หน้าต่าง
ประตู เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงบ้าน พื้นที่ภายในบ้าน และแต่ละห้องได้อย่างสะดวก ส่วนหน้าต่าง จะช่วยให้เราสามารถรับแดด ลม และบรรยากาศจากพื้นที่ภายนอกหรือพื้นที่ที่ติดกันได้ ซึ่งนอกจากประตูหน้าต่างที่เป็นช่องเปิดแล้ว อาจมีกระจกบานฟิกซ์ (ไม่สามารถเปิดปิดได้) ที่ให้เราสามารถรับแสงแดดและวิวจากภายนอกได้เช่นกัน ที่สำคัญคือต้องติดตั้งอย่างถูกวิธีให้มีความแข็งแรงและไม่รั่วซึม

7.​รั้ว
รั้วเป็นตัวบ่งบอกอาณาเขตที่ดินของเรา ซึ่งควรมีความมั่นคงแข็งแรง ป้องกันเราจากอันตรายต่างๆ ภายนอกบ้านได้พอสมควร สร้างความเป็นส่วนตัว ให้เราสามารถทำกิจกรรมที่บ้านได้อย่างสบายใจ ระบบฐานรากของรั้วควรออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักรั้วและแรงดันด้านข้างจากดินได้ โดยเลือกวัสดุและรูปแบบรั้วให้เหมาะสม (เช่น รั้วทึบ รั้วโปร่ง) เข้ากับกิจกรรมภายนอกบ้านของครอบครัว รวมถึงสไตล์และภาพรวมของบ้านเรา ที่สำคัญควรมีขนาดความสูงถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

8.ที่จอดรถ
พื้นที่จอดรถ หรือโรงจอดรถ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่หลายบ้านที่มีรถจำเป็นต้องมี ด้วยความที่รถมีน้ำหนักมากจึงต้องมีการออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสมให้สามารถรับน้ำหนักรถและการใช้งานต่างๆ ได้ ขนาด (ความกว้าง ความยาว ความสูง) และความลาดชันเหมาะสมและสัมพันธ์กับประเภทรถที่เราใช้ (เช่น รถตู้ โรงรถควรมีขนาดใหญ่หลังคาสูงพอ รถสปอร์ต-ซุปเปอรคาร์ ต้องคำนึงถึงความลาดชันต่ำเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถขับรถเข้าออกจากบ้านได้อย่างสะดวกสบาย ท้องรถไม่ขูดกับพื้นและทางลาด) เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม (เช่น วัสดุพื้นที่แข็งแรง มีผิวสัมผัสไม่ลื่นหรือมันวาว) รวมทั้งสามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีขัง